Close Mobile Navigation




เข้าใจมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในผู้หญิง อายุระหว่าง 35 ถึง 44 ปี
ผู้หญิงที่อายุตํ่ากว่า 20 ปี มีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้




ข้อมูลในหน้านี้อาจช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ท่านเป็นอยู่ได้ดียิ่งขึ้น การเตรียมตัวให้พร้อม อาจช่วยในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญร่วมกับแพทย์ของท่าน





โรคมะเร็งปากมดลูก
คืออะไร



ปากมดลูก คือ ส่วนปลายสุดของมดลูก ซึ่งมีลักษณะเป็นคอคอดต่อลงมาจากมดลูก (อวัยวะกลวงที่มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ซึ่งเป็นที่ที่ทารกเจริญเติบโตในขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์) ปากมดลูกเชื่อมต่อส่วนล่างของมดลูกกับช่องคลอดมะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป ก่อนที่มะเร็งจะปรากฏขึ้นที่ปากมดลูก เซลล์ของปากมดลูกจะผ่านระยะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เรียกว่า การเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งเซลล์ที่ผิดปกติจะเริ่มปรากฏขึ้นในเนื้อเยื่อปากมดลูก (เซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็ง) เมื่อเวลาผ่านไป เซลล์ที่ผิดปกติอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็ง และเริ่มเจริญเติบโตและแพร่กระจายลึกลงไปในปากมดลูกและบริเวณโดยรอบมากขึ้น มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีกด้วย มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นมักจะไม่มีอาการแสดงหรืออาการใดๆ แต่อาจตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพควรรวมถึงการตรวจต่างๆ เช่น การตรวจแปปสเมียร์ และหรือการตรวจหาเชื้อเอชพีวี การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระยะก่อนเป็นมะเร็งที่ปากมดลูก การตรวจหาเชื้อเอชพีวีเป็นการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (human papillomavirus, HPV) ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดเซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็งและโรคมะเร็งปากมดลูกได้สูงขึ้น การตรวจคัดกรองเป็นประจำสามารถตรวจพบการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ (เซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็ง) หรือโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรก ซึ่งเป็นระยะที่รักษาได้ง่ายกว่า





ระยะต่างๆ ของโรคมะเร็งปากมดลูก



ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute, NCI)

โรคมะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะ (stage) ตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึง 4 โดยระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุดดูข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างเกี่ยวกับระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกแต่ละระยะ การศึกษาข้อมูลนี้ไว้ก่อนอาจช่วยให้ท่านพูดคุยกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น


โรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1

ในระยะที่ 1 มะเร็งได้ก่อตัวขึ้นและตรวจพบเฉพาะในปากมดลูกเท่านั้นระยะที่ 1 แบ่งออกเป็นระยะที่ 1A และ 1B ขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและจุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกรานเข้าไป

ในระยะที่ 1A
ระยะที่ 1A แบ่งออกเป็นระยะที่ 1A1 และ 1A2 ขึ้นอยู่กับจุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกรานเข้าไป

  • ในระยะที่ 1A1 ตรวจพบมะเร็งจำนวนน้อยมากในเนื้อเยื่อของปากมดลูกซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น จุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกรานเข้าไป คือ 3 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า
  • ในระยะที่ 1A2 ตรวจพบมะเร็งจำนวนน้อยมากในเนื้อเยื่อของปากมดลูก ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น จุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกรานเข้าไป คือ มากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร

ในระยะที่ 1B
ระยะที่ 1B แบ่งออกเป็นระยะที่ 1B1, 1B2 และ 1B3 ขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและจุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกราน เข้าไป

  • ในระยะที่ 1B1 เนื้องอกมีขนาด 2 เซนติเมตรหรือน้อยกว่า และจุดที่ลึกที่สุดที่เนื้องอกรุกรานเข้าไป คือ มากกว่า 5 มิลลิเมตร
  • ในระยะที่ 1B2 เนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ในระยะที่ 1B3 เนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร

โรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2

ในระยะที่ 2 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังช่องคลอดส่วนบนหรือไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ มดลูก แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังผนังเชิงกรานหรือช่องคลอดส่วนล่าง
ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็นระยะที่ 2A และ 2B ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด 

ในระยะที่ 2A
มะเร็งได้แพร่กระจายจากปากมดลูกไปยังช่องคลอดส่วนบน แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ มดลูกระยะที่ 2A แบ่งออกเป็นระยะที่ 2A1 และ 2A2 ขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอก

  • ในระยะที่ 2A1 เนื้องอกมีขนาด 4 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า
  • ในระยะที่ 2A2 เนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร

ในระยะที่ 2B
มะเร็งได้แพร่กระจายจากปากมดลูกไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ มดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3

ในระยะที่ 3 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังช่องคลอดส่วนล่างและ/หรือไปยังผนังเชิงกราน และ/หรือทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไต และ/หรือแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลือง ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็นระยะที่ 3A, 3B และ 3C ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด

ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็นระยะที่ 3A, 3B และ 3C ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด

ในระยะที่ 3A

  • มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังช่องคลอดส่วนล่าง แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังผนังเชิงกราน

ในระยะที่ 3B

  • มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังเชิงกราน และ/หรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากพอที่จะอุดกั้นท่อไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือทำให้ไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างใหญ่ขึ้นหรือหยุดทำงาน

นระยะที่ 3C
ระยะที่ 3C แบ่งออกเป็นระยะที่ 3C1 และ 3C2 ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองในบริเวณใด

  • ในระยะที่ 3C1 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองในเชิงกราน
  • ในระยะที่ 3C2 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองในช่องท้องใกล้กับหลอดเลือดแดงเอออร์ตา

โรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4

ในระยะที่ 4 มะเร็งได้แพร่กระจายออกไปนอกเชิงกราน หรือได้แพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ตรง หรือ ได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ระยะที่ 4 แบ่งออกเป็นระยะที่ 4A และ 4B ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มะเร็งแพร่กระจายไป

ในระยะที่ 4A

  • มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ตรง

ในระยะที่ 4B

  • มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ ปอด กระดูก หรือต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ห่างออกไป




บทความอื่นๆ


การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการรักษา


เรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของมะเร็งปอด
อาการ การวินิจฉัย และการรักษา




TH-CER-00001 10/2023


ความร่วมมือ